advertisement

ย่านาง สมุนไพรใกล้ตัว สรรพคุณเปี่ยมล้น

advertisement

       ย่านาง เชื่อว่าหลายๆคนต้องรู้จักและเคยเห็นกันจนชินตา เนื่องจากเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหารหลายชนิด และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่าง หรือนำมาคั้นเป็นน้ำสมุนไพรทานกัน วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักคุณค่าที่ได้จากย่านางให้มากขึ้นกันค่ะ

       ย่านาง ชื่อสามัญ Bai-ya-nang (ตรงตัว) ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า เถาย่านาง ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ภาคใต้เรียกว่า ยาดนาง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของย่านาง

       เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2-5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ

advertisement

ประโยชน์ของใบย่านาง

- แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านางแชมพู ใบย่านางเครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

- นำมาทำอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง หรือรับประทานสด ๆ กับน้ำพริกอีกด้วย

สรรพคุณ

- ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

- ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้

- เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก

- ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี

- ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์

- น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย

- ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด

- ช่วยรักษาอาการตะคริว เกร็ง ชักได้

- ช่วยรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ

- ช่วยเผาผลาญไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน

- บำรุงสายตา ป้องกันโรคตาแดง ตาแห้ง แก้อาการปวดตาได้

- ช่วยรักษาอาการตกขาว

- ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้

- เป็นยาอายุวัฒนะ

- ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร

- รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา

- ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย

- ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

- ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ

- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ

- ป้องกันโรคเกาต์ได้

- ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้

- ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง

- ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด

- ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ

- ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

advertisement

ในใบย่านาง 100 กรัมจะ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
         พลังงาน 95 กิโลแคลอรี เส้นใย 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัมเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

โทษของใบย่านาง

        ยังไม่มีการวิจัยใดพิสูจน์ได้ว่าใบย่านางนั้นมีโทษต่อร่างกายอย่างไร แต่ก็มีคำเตือนว่าผู้ที่ป่วยในโรคไตระยะสุดท้ายไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะสารอาหารอย่างวิตามินเอ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่อยู่ในใบย่านางนั้นจะทำให้เกิดการคั่งได้หากการทำงานของไตลดลง

        ย่านางเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่เปี่ยมด้วยคุณประโยชน์อย่างมากมาย แต่ถึงอย่างไรเราควรใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมนะ ถ้าเราใช้มากเกินไปและไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ค่ะ

เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com

advertisement
advertisement