News 1678 จะเปลี่ยนนามสกุลลูก ให้กลับมาใช้นามสกุลแม่ มีขั้นตอนอย่างไรสำหรับคุณแม่ที่อยากจะรู้ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลจาก นามสกุลพ่อให้กลับมาเป็นนามสกุลแม่ ทำยากหรือไม่และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ advertisement สำหรับคุณแม่ที่อยากจะรู้ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลจาก นามสกุลพ่อให้กลับมาเป็นนามสกุลแม่ ทำยากหรือไม่และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ กรณีที่ 1 การเปลี่ยนนามสกุลลูกหลังจดทะเบียนหย่า ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาได้หย่าร้างกัน หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว คุณแม่ต้องการเปลี่ยนนามสกุลลูกจากเดิมเป็นนามสกุลของบิดา ให้กลับมาเป็นนามสกุลเดิมของมารดา สามารถทำได้หรือไม่? advertisement ตอบ หากมีการหย่าต้องรู้ว่าอำนาจปกครองอยู่ที่ใคร – ถ้าอำนาจปกครองอยู่ที่บิดา การขอใช้นามสกุลมารดาก็ต้องให้บิดามาให้ความยินยอมด้วย – ถ้าอำนาจปกครองอยู่ที่มารดา การขอใช้นามสกุลของมารดาให้มารดายื่นขอใช้นามสกุลได้ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/เขต ที่บุตรมีชื่ออยู่ กรณีที่ 2 การเปลี่ยนนามสกุลลูกหลังจดทะเบียนหย่า อำนาจปกครองบุตรเป็นของมารดา แต่บิดาสลักหลังให้ค่าเลี้ยงดูบุตรอยู่ ตอบ กรณีที่บันทึกท้ายการหย่าระบุให้มารดามีอำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวนั้น มารดาสามารถไปติดต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใกล้บ้านเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลบุตรได้ทันที โดยไม่ต้องให้บิดาเด็กให้ความยินยอมแต่อย่างใด และไม่ต้องสนใจว่าบิดาเด็กจะส่งเสียเลี้ยงดูบุตรอยู่หรือไม่ ในวันไปเปลี่ยนควรนำใบหย่าติดตัวไปด้วย กรณีที่ 3 การเปลี่ยนนามสกุลลูกในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในใบเกิดมีชื่อบิดาเป็นพ่อของเด็ก แต่ติดต่อบิดาไม่ได้แล้ว ตอบ หากติดต่อไม่ได้แนะนำให้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อออกเอกสารยืนยันว่าไม่สามารถติดตามตัวได้ เพื่อยื่นขอเปลี่ยนนามสกุลต่อไปเอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร ได้แก่ 1. สูติบัตรของบุตร 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่บุตรมีชื่ออยู่ 3. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า 4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ 5. สำเนาทะเบียนบ้าน 6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.2) หรือใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) หรือบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุล โดยให้นำใบเกิดของลูกไปยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท กรณีการออกใบแทน ฉบับละ 25 บาทยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุล (ภรรยา) ในกรณีสิ้นสุดการสมรส ได้แก่ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. บันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล กรณีคู่สมรสประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือหลักฐานสิ้นสุดการสมรส หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติบัตร, สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม, สำเนาทะเบียน รับรองบุตร ฯลฯค่าธรรมเนียม 1. การเปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกเมื่อจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม 2. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะการสมรสสิ้นสุด ไม่เสียค่าธรรมเนียม 3. การเปลี่ยนชื่อสกุลภายหลังการจดทะเบียนสมรสครั้งต่อๆ ไป ฉบับละ 50 บาท 4. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่นๆ ฉบับละ 100 บาทยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และสำหรับกรณีที่บุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว คืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถตัดสินใจได้เองว่าต้องการที่จะใช้นามสกุลพ่อหรือแม่ จึงสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลได้ด้วยตนเองเลย ไม่จำเป็นต้องดูว่าอำนาจการปกครองอยู่ที่ใครเรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก : amarinbabyandkids.com advertisement