advertisement

หายสงสัย ทำไมจึงเรียก เงาะโรงเรียน

 จากเงาะโรงเรียนนาสาร ถูกเรียกหดสั้นเหลือเพียงแค่เงาะโรงเรียน

advertisement

       จากเงาะโรงเรียนนาสาร ถูกเรียกหดสั้นเหลือเพียงแค่เงาะโรงเรียน ที่มาและต้นกำเนิดของเงาะสายพันธุ์นี้จึงมีไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้ แม้คนไทยจะยังซื้อเงาะโรงเรียนรับประทานกันอยู่แทบทุกครัวเรือนก็ตาม รำลึกเงาะโรงเรียนนาสารต้นแรก

advertisement
       อำเภอนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี มีคำขวัญประจำอำเภอว่า “เงาะโรงเรียนชื่อเฟื่อง รวยเหมืองแร่ แท้น้ำผึ้ง น่าทึ่งปลาเม็งยำ เลิศล้ำถ้ำผา เพลินตาน้ำตกสวย งดงามด้วยอุทยาน” นอกจากต้มยำปลาเม็ง ร้าน ‘ซินฮั้วล้ง’ ใกล้สถานีรถไฟนาสารที่ใครมาต้องแวะชิมให้ได้แล้ว หากมาที่นี่แล้วไม่ได้ชิมเงาะโรงเรียนพันธุ์แท้ดั้งเดิม ถือว่าคนนั้นยังมาไม่ถึงนาสาร

       จิรศักดิ์ ชัยฤทธิ์ นายอำเภอบ้านนาสาร กล่าวถึงความเป็นมาของเงาะโรงเรียนพันธุ์ดีที่การันตีว่า ‘รสชาติอร่อยที่สุดของไทย’ ว่าในราวปี พ.ศ.2480 นายเค หว่อง (K.Wong) ชาวจีนสัญชาติมาเลเซียได้เดินทางมาทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่บ้านเหมืองแร่และขุนทองหลาง โดยได้สร้างบ้านพักขึ้นในบริเวณโรงเรียนนาสารในปัจจุบัน

       นายเค หว่องได้นำเงาะพื้นเมืองจากเมืองปีนังมารับประทานและทิ้งเมล็ดไว้ข้างบ้านพัก ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ดี และมีความชุมชื้นอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้เมล็ดที่ถูกทิ้งได้งอกขึ้นมารวมทั้งหมดจำนวน 3 ต้น

       ต่อมานายเค หว่อง ได้เลิกกิจการและขายที่ดินพร้อมบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ทางราชการได้ปรับปรุงบ้านพักเป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนจาก วัดนาสาร มาก่อตั้งเป็นโรงเรียนขึ้นที่นี่ ซึ่งคือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนนาสารในปัจจุบัน

       ต้นเงาะจำนวน 3 ต้น ได้ออกดอกติดผลในเวลาต่อมา ในจำนวนต้นเงาะสามต้นนั้น มีเงาะต้นหนึ่งที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติจนกลายเป็นแม่พันธุ์ของเงาะพันธุ์โรงเรียนต้นแรก เงาะที่สายพันธุ์ว่ามีลักษณะพิเศษคือ ผลเงาะสุกจะมีผมสีแดงแต่ปลายผมสีเขียว ถึงแม้ผลจะสุกจัดก็ตาม ผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เนื้อกรอบ รสหวานหอมซึ่งต่างจากพันธุ์เดิม[ads]

advertisement
        ครั้นถึง พ.ศ. 2500-2501 เงาะพันธุ์ยาวี เจ๊ะโมง เปเราะ จากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส เริ่มแพร่หลาย ชาวบ้านนาสารเห็นว่า ตนเองก็มีเงาะพันธุ์ดีเช่นกัน เพียงแต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงพยายามขยายพันธุ์ จากต้นแม่ที่อยู่ที่โรงเรียนนาสาร”โดยมีนายแย้ม พวงทิพย์ ครูใหญ่โรงเรียนนาสารในเวลานั้น เป็นผู้ริเริ่มคิดให้มีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งปลูก และขายพันธุ์ให้พี่น้องชาวสวนนาสารนำไปปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอบ้านนาสาร เมื่อเห็นว่าเงาะนี้ยังไม่มีชื่อเรียก จึงได้เรียกกันว่า “เงาะพันธุ์โรงเรียนนาสาร”ตามต้นแม่พันธุ์ที่อยู่ที่โรงเรียนนาสาร ‘เงาะโรงเรียน’ จึงผงาดขึ้นในตลาดผลไม้ไทยนับแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้

        แต่แล้วในปี พ.ศ. 2505 เกิดมหาวาตภัยครั้งใหญ่ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอบ้านนาสารก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เงาะโรงเรียนต้นแม่หักโค่นเพราะวาตภัย จึงได้มีการขยายพันธุ์เงาะมาปลูกไว้ในสวนของโรงเรียน ได้อนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี อยู่ด้านหลังอาคารฉัตรแก้ว มีประมาณ 25 ต้นและได้มีการปลูกเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง

        ปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมพสกนิกรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีชาวสวนทูลเกล้าฯถวายผลเงาะพันธุ์โรงเรียนและขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะใหม่ แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนดีอยู่แล้ว” นับแต่นั้นมาไม่มีใครคิดเปลี่ยนชื่อเงาะพันธุ์นี้อีก

        ทุกวันนี้ แม้เงาะโรงเรียนต้นแรกของนาสารจะจากไปเพราะภัยธรรมชาติและแรงพายุแล้ว แต่ที่นี่ก็ยังมีอนุสรณ์ถึงต้นไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอของพวกเขา อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนาสาร อาจารย์คำแหง วิชัยดิษฐ์ ผู้ซึ่งเคยรู้และเคยเห็นต้นเงาะต้นแรก ไปชี้จุดที่เงาะโรงเรียนเคยปรากฏอยู่ในอดีต โรงเรียนนาสารได้ร่วมกับวัดนาสาร (พระครูปัญญาสารวิสิฐ เจ้าคณะอำเภอบ้านนาสาร) จัดสร้างต้นตอเงาะจำลองขึ้นแทนต้นเดิมซึ่งได้โค่นล้มจากผลกระทบเมื่อคราวเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.2505

เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com

advertisement
advertisement