advertisement
807

6 ต้นไม่ริมถนน ที่หลายคนชมว่าสวย แต่ยังไม่รู้จักชื่อ

วันนี้ให้เราจะพาไขข้อข้องใจ นำเสนอต้นไม้ ที่เราชอบเห็นกันจนชินตา มาให้เพื่อนๆ รับชมกันไปดูกันเลยว่ามีชื่อว่ากันอย่างไรบ้าง

advertisement

       ต้นไม้ที่เราเห็นตามริมทางริมถนน หรือ แม้กระทั่งเวลาขับไปเที่ยวบางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า เอ้ะ เจ้าต้นไม้นี่ มันชื่ออะไรนะ โดยเฉพาะเวลาที่เราขับรถในช่วงหน้าร้อน หน้าฝน เราก็จะไม่ค่อยเห็นต้นไม้เหล่านี้ ออกดอกออกผลเลย จนทำให้อดคิดต่อไม่ได้ว่าต้นไม้เขียวๆเหล่านี้ หรือ บางทีเหลือแต่ก้านบ้าง ตอนที่พวกเค้าออกดอกผลิบานเนี่ย มีสีอะไรกันนะ

      วันนี้ให้เราจะพาไขข้อข้องใจ นำเสนอต้นไม้ ที่เราชอบเห็นกันจนชินตา มาให้เพื่อนๆ รับชมกันไปดูกันเลยว่ามีชื่อว่ากันอย่างไรบ้าง

      1.ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซากุระเมืองไทย กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร จะออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก นางพญาเสือโคร่งถูกปลูกขึ้นบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย หรือบนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่ายขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ประโยชน์ของต้นนางพญาเสือโคร่งนั้น นอกจากสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้แล้ว ผลของพญาเสือโคร่งยังสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว

advertisement
       แม้ว่านางพญาเสือโคร่งจะถูกเปรียบเปรยเป็นซากุระ แต่พญาเสือโคร่งมีความแตกต่างจากซากุระ คือช่วงเวลาออกดอกไม่ตรงกัน โดยซากุระออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ส่วนนางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม พืชทั้งสองอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Rosaceae (วงศ์กุหลาบ) และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีนและวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลาย

       2. ชมพูพันธุ์ทิพย์  ชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นต้นไม้เขตร้อนมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ก่อนจะมีการนำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย รวมถึงประเทศไทย โดยหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เป็นผู้นำต้นชมพูพันธุ์ทิพย์เข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 พร้อมกับตั้งชื่อเรียกเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้นำเข้าและสีของดอกว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์

advertisement
       ชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ผลัดใบ ความสูงประมาณ 8-25 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างเป็นชั้น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม ลำต้นขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลหรือสีเทา แต่เมื่อมีอายุมากเปลือกลำต้นจะแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบเรียงตรงกันข้าม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่นใบหนาขอบเรียบ สีเขียวเข้ม ปลายใบเรียว โคนใบสอบ ใบคล้ายรูปไข่แกมรูปรี ความกว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก กลีบดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูสด และสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง ดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โดยทิ้งใบในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน นอกจากนี้ยังมีฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมล็ดแบน สีน้ำตาล

       3. ดอกราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน ต้นไม้มงคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วจะเสริมให้คนในบ้านมีเกียรติยศชื่อเสียงมากขึ้นด้วย 

advertisement
       ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า และศรีลังกา โดยนิยมปลูกกันมากในเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง และเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาหลายสิบปี โดยมีการเสนอให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544

       4. ดอกเหลืองปรีดียาธรหรือตาเบบูยาเหลือง ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องขรุขระ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ซึ่งจะออกดอกช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.โดยถือเป็นไม้ยืนต้นมงคลอีกชนิดหนึ่ง

advertisement
       5. อินทนิลน้ำ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เจริญเติบโตเร็วหากปลูกในที่เหมาะสม ต้นมีความสูงประมาณ 5-20 เมตร ลำต้นเล็กและมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลาะ ตรง เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือจากพื้นดินขึ้นมาไม่มาก จึงมีเรือนยอดที่แผ่กว้าง เป็นพุ่มลักษณะคล้ายรูปร่ม และคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น

       ถ้าเป็นต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่า มักจะมีเรือนยอดคลุมลำต้น ประมาณ 9/10 ส่วนของความสูงของต้น ส่วนผิวเปลือกต้นอินทนิลน้ำ จะมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน มักจะมีรอยด่าง ๆ เป็นดวงขาว ๆ อยู่ทั่วไป ผิวเปลือกจะค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น เปลือกมีความหนา ประมาณ 1 เซนติเมตร ที่เปลือกในจะออกสีม่วง นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

advertisement
       6. ดอกหางนกยูงฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่สูงราว 12 – 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม แผ่กิ่งก้านออกคล้ายจามจุรี แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ บเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง เป็นพืชผลัดใบในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน

      ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้น เหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ และเกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือกลีบดอก กลีบดอกหางนกยูงความจริงประกอบด้วยสี 2 สี คือสีแดงและสีเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะมี 2 สีนี้อยู่ด้วยกันจึงเห็นเป็นสีแสด ดอกใดที่สีเหลืองมากกว่าก็เป็นสีแสดออกเหลือง ดอกใดสีแดงมากกว่าก็เป็นสีแสดออกแดง แต่ก็มีหางนกยูงบางต้นออกดอกสีแดงแท้ๆ และบางต้นออกดอกสีเหลืองบริสุทธิ์ซึ่งหาได้ยาก โดยทั่วไปจึงพบแต่หางนกยูงฝรั่งสีแสด ทั้งนี้ผลของหางนกยูงฝรั่งเป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ และเมล็ดเรียงตามขวาง

       ในช่วงหน้าร้อน หน้าฝน เราก็จะไม่ค่อยเห็นต้นไม้เหล่านี้ ออกดอกออกผลเลย หวังว่าจะช่วยไขข้อสงสัยให้หลายท่านได้นะคะ ต้นไม้สวยๆที่ ท่านเห็นเวลาขับรถนั่นคือต้นไม้เหล่านี้และจ้า แต่ละต้นนั้นชื่อจำยากเหมือนกันนะคะ อิอิ 

เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com

advertisement
advertisement